กล่องข้อความ:
บริเวณที่พบ : อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ
ชื่ออื่น ๆ : อ้อยขม, อ้อยแดง, อ้อยดำ (ภาคกลาง) , กะที (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) , อำไป (เขมร) , กำเจี่ย, ชุ่งเจี่ย (จีน)
ลักษณะพิเศษของพืช : ไม้ล้มลุก สูง 2 - 5 เมตร ลำต้นสีม่วงแดง มีไขสีขาวปกคลุม ไม่แตกกิ่งก้าน
ลักษณะทั่วไป
ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก ขึ้นเป็นกอ ลำต้นเป็นปล้อง ๆ แข็งแรงผิวนอกจะแข็งมาก เป็นสีแดง และเป็นมัน ส่วนเนื้อในจะเป็นสีขาว
และฉ่ำน้ำ มีรสหวาน ลำต้นนั้นจะมีความสูงประมาณ 2-4 เมตร ตามข้อนั้น จะมีตำสำหรับที่จะเป็นต้นใหม่หนึ่งตา ตามข้อแต่ละข้อ
มักมีรากอากาศอยู่ประปราย
ใบ :
จะเป็นใบเดี่ยว มีลักษณะเป็นรูปหอกแคบ ๆ และมีความยาวประมาณ 0.5-1 เมตร กว้างประมาณ 2.5-5 ซม.
ดอก : ดอกช่อออกที่ปลายยอดสีขาว
ผล : ผลเป็นผลแห้ง ขนาดเล็ก อ้อยมีหลายพันธุ์แตกต่างกันที่ความสูง ความยาวของข้อ และสีของลำต้น
ประโยชน์
    ต้น ใช้ลำต้นเป็นยาขับปัสสาวะ โดยใช้ลำต้นสด 70 - 90 กรัม หรือแห้ง 30 - 40 กรัม หั่นเป็นชิ้น ต้มน้ำแบ่งดื่มวันละ 2 ครั้ง
ก่อนอาหาร แก้ไตพิการ หนองใน และขับนิ่ว รายงานว่าอ้อยแดงมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ในสัตว์ทดลอง
ลักษณะวิสัย

กลับหน้าหลัก
ลำต้น

7-50100-001-168

ชื่อพื้นเมือง

:  อ้อยดำ

ชื่อวิทยาศาสตร์

Saccharum officinarum L.

ชื่อวงศ์

:  POACEAE

ชื่อสามัญ

:  Sugar cane

ประโยชน์

: ลำต้นและน้ำอ้อย แก้ร้อนใน ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ
แก้หืดไอ ชับนิ่ว แก้ท้องผูก แก้สะอึก
บำรุงกระเพาะอาหาร เปลือกต้น แก้ตัวร้อน
แก้พิษตานซาง ชานอ้อย แก้แผล เรื้อรัง แก้ฝีอักเสบบวม

ใบ

 

สรุปลักษณะและข้อมูลพรรณไม้
ชื่อพรรณไม้    อ้อยดำ   รหัสพรรณไม้   7-50100-001-168